วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

ไตรยางศ์ จำขึ้นใจใช้จนโตจ้าา


ไตรยางศ์


ไตรยางศ์หรืออักษรสามหมู่ ที่ทุกคนคนคงรู้จักกันดีเพราะเรียนตั้งแต่เป็นเด็กน้อยวัยน่ารักใสใสใช่ไหมคะ แต่ถึงอย่างไรนั้นบางครั้งเราก็มักจะลืมว่าแต่ละพยัญชนะอยู่ในหมู่ไหนกันนะ จันทร์เจ้าขาเลยขออาสาทบทวนความรู้เดิมให้นะคะ และจันทร์เจ้าขามีวิธีท่องจำ พร้อมทั้งการผันวรรณยุกต์ของแต่ละหมู่ที่ทำให้เราออกเสียงได้ถูกต้องนั่นเองงง เราไปเรียนรู้และทบทวนกันเลยดีกว่าค่ะ เย้ๆ























ง่ายมากเลยใช่ไหมคะ ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในการพูดสื่อสาร การพูดออกเสียงให้ถูกต้องได้นะคะ

10 เพลงที่จันทร์เจ้าขาชอบฟัง

เพลงจ๋า พี่มาแล้วจ้ะ 

เวลาเหนื่อยล้าทุกคนคงมีสิ่งที่ทำให้ตัวเองผ่อนคลายใช่ไหมคะ บางคนอาจจะเดินเข้าป่า บางคนได้นอนแล้วรู้สึกสดชื่น ถ้ามีเวลาก็ไปหาที่เที่ยวสวย ๆ ผ่อนคลาย บางคนมีความสุขเล็ก ๆ กับการอยู่กับตัวเอง ให้เวลากับสิ่งที่รัก สำหรับจันทร์เจ้าขามีงานอดิเรกที่ทำยามว่างเหมือนกันค่ะ คือ อ่านหนังสือ เล่นเกม แต่ที่ทำบ่อยที่สุดเลยคือ ฟังเพลงค่ะ เวลาฟังเพลงทำให้อารมณ์ดีขึ้น ผ่อนคลายความเครียดได้ดีสุด เวลาเหนื่อยกับหลาย ๆ สิ่งที่เข้ามา ก็เพียงแค่สวมหูฟังเปิดเพลงดัง ๆ ฟังอย่างสบายใจก็พอแล้วค่ะ 
วันนี้จันทร์เจ้าขาเลยอยากขอแชร์เพลง 10 เพลง ที่จันทร์เจ้าขาฟังบ่อย ๆ อย่ารอช้าเลยค่ะ ลองฟังดู เผื่อสไตล์การฟังเพลงเราจะตรงกันนะคะ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ





ชอบฟังอันดับที่ 1 : THANK YOU - GOT7






ชอบฟังอันดับที่ 2 : DAWN OF US - JACKSON WANG






ชอบฟังอันดับที่ 3 : LOVE SCENARIO - IKON






ชอบฟังอันดับที่ 4 : อยากเจอ - BLUE SHADE







ชอบฟังอันดับที่ 5 : ถ้าเรายังคิดึงกัน - BLUE SHADE






ชอบฟังอันดับที่ 6 : แต่ยังคิดถึง - ตู่ ภพธร






ชอบฟังอันดับที่ 7 : TRY TO - MAIYARAP






ชอบฟังอันดับที่ 8 : JUST RIGHT - GOT7






ชอบฟังอันดับที่ 9 : WHAT IS LOVE - TWICE







ชอบฟังอันดับที่ 10 : อย่าคิดมาก - THE OTHERS


  

เย้ๆ ได้ฟังกันไปแล้วใช่ไหมคะ เพราะหรือเปล่าเอ่ย? หรือตรงสไตล์คนไหนบ้าง ฮ่าๆ ถ้ามีใครชอบเหมือนกัน จันทร์เจ้าขาดีใจนะคะที่เจอคนสไตล์เดียวกัน คิคิ อ่าาบล็อกนี้ก็จบเพียงเท่านี้ค่าาา อยากมาแชร์เพลงเฉยๆเจ้าค่ะ คุคิคุคิ
  



เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ E-BOOK

เทคโนโลยีการศึกษา E-BOOK


อีบุ๊ค (e-book, e-Book, eBook, EBook)  เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ ประกอบด้วยตัวอักษร, ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว ,เสียง , ลักษณะที่ตอบโต้กันได้ (interactive) และการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์ สามารถทำบุ๊คมาร์กและหมายเหตุประกอบตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยอาศัยพื้นฐานของเล่มหนังสือเป็นหลัก



วิวัฒนาการของ E-Book หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ  ยุค สมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพ ขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัว หนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
            การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า “web page” โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
            เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะ เหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไป ยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป 


ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีโครงสร้างเหมือนๆ กับหนังสือเล่มทั่วๆ ไปโดยจะประกอบด้วยหน้าปกหน้า-หลัง, สารบัญ, เนื้อหาภายในเล่ม และดัชนี เนื้อหาภายในเล่มอาจจะแบ่งออกเป็นบทแต่ละบทมีจำนวนหน้ามากน้อยแตกต่างกันไป ในแต่ละหน้าจะประกอบด้วยตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, เสียง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะแตกต่างจากหนังสือเล่มในการพลิกหน้า โดยที่ไม่ได้มีการพลิกหน้าจริง หากแต่เป็นไปในลักษณะของการซ้อนทับกัน  สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือเล่มอย่างเด่นชัดคือ การปฏิสัมพันธ์และความเป็นพลวัต  ซึ่งอาจจะแตกต่างกันล่างในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน และการปฏิสัมพันธ์จากผู้อ่าน  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนกับหนังสือเล่ม  คือ มีหน้าปกเพื่อบอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ หากใน 1 หน้า มีข้อมูลเป็นหน้าคู่ ด้านซ้ายมือเป็นหน้าซ้ายด้านขวามือจะเป็นหน้าขวา กดปุ่มไปหน้าก็จะไปยังหน้าต่อไป กดปุ่มถอยหลังจะกลับไปหน้าก่อนนอกจากนี้ยังสามารถกระโดดข้ามไปยังหน้าที่ผู้อ่านต้องการได้อีกด้วย หน้าสุดท้ายจะเป็นหน้าก่อนออกจากโปรแกรม ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายกับหนังสือเล่มมากแต่ข้อจำกัดที่มีอยู่มากมายในหนังสือเล่มไม่สามารถส่งอิทธิพลมายังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด

ตัวอย่าง E-BOOK สวย ๆ ค่ะ